ยางรถมอเตอร์ไซต์ที่ใช้แข่งขัน MotoGP  ยางรถมอเตอร์ไซต์ที่ใช้แข่งขัน MotoGP


ยางรถมอเตอร์ไซต์ที่ใช้แข่งขัน MotoGP



ในการแข่งขัน MotoGP นั้น มียางให้เลือกหลากหลายชนิดเลยทีเดียวครับ การเลือกยางก็จะขึ้นอยู่กับนักแข่งว่าจะเลือกยางแบบไหน โดยยางแต่ละชนิดก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน การยึดเกาะถนนที่แตกต่างกัน และแต่ละสนามแข่งขันก็จะมีพื้นๆ จำนวนโค้ง ทางลาดชัน ที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นการตัดสินใจเลือกยางที่ใช้แข่งขันแต่ละสนามนั้นเป็นปัจจัยสำคัญมากๆ

ชนิดของยางที่ใช้แข่งใน MotoGP



ชนิดของยางที่ใช้แข่งใน MotoGP

Extra-Hard (Rear only) - เป็นยางแข็งพิเศษ ใช้สำหรับล้อหลังเท่านั้น
Hard - ยางแข็ง
Medium - ยางแข็งปานกลาง
Soft - ยางอ่อน
Extra-Soft - ยางอ่อนพิเศษ
Wet Tyres Soft - ยางอ่อนสำหรับพื้นเปียก
Wet Tyres Hard - ยางแข็งสำหรับพื้นเปียก
Asymmetric Front - เป็นยางหน้าแบบผสม คือ เนื้อยางแต่ละฝั่งซ้ายขวาจะไม่เหมือนกัน ได้ถูกนำมาใช้ในครั้งแรกที่สนาม Phillip Island โดยยางชนิดนี้ถูกพัฒนาโดยเฉพาะสำหรับความไม่สมดุลของสนามแข่ง Sachsenring โดยยางชนิดนี้จะใช้ยางแข็งปานกลาง (Medium compound rubber) ที่ตรงกลางและทางซ้ายของยาง และใช้ยางอ่อนที่ฝั่งด้านขวาของยาง ยกตัวอย่างสนาม Phillip Island ที่ประเทศออสเตรเลีย จะมีโค้งซ้าย 7 โค้งและโค้งขวา 5 โค้ง จะเห็นว่าโค้งซ้ายมีเยอะกว่า ยางชนิดนี้จึงใช้ฝั่งซ้ายเป็น Medium และโค้งขวามีน้อยกว่าจึงใช้เป็น Soft
Asymmetric Rear - เป็นยางหน้าแบบผสม คือ เนื้อยางแต่ละฝั่งซ้ายขวาจะไม่เหมือนกัน ได้ถูกนำมาใช้ในครั้งแรกที่สนาม Valencia เนื่องจากสนามนี้มีโค้งซ้ายจำนวน 9 โค้งและโค้งขวาจำนวน 5 โค้ง จึงทำให้ยางชนิดนี้ใช้ยางแข็ง (Hard) ที่ฝั่งซ้ายของยางและใช้ยางอ่อน (Soft) ที่ฝั่งขวาของยาง และยางตรงกลางถูกออกแบบมาเพื่อที่จะควบคุมความเครียดที่เกิดจากการเพิ่มความเร็วมากกว่าที่จะใช้ควบคุมการเข้าโค้งด้วยความเร็ว

ตัวอย่างยางหลังแบบผสม
Asymmetric Rear Tyres

ตัวอย่างยางเปียก
ยางเปียก MotoGP

ยางแข็งจะใช้ได้ดีสำหรับเกือบทุกสภาพอากาศและทุกสภาพพื้นผิวของแทร็ก ในขณะที่ยางอ่อนจะสามารถเกาะพื้นผิวแทร็กได้ดีกว่า แต่มันจะใช้ได้ไม่ดีในสภาพอากาศที่หนาวเพราะว่ายางจะถลอกออกมาขณะที่กำลังวอร์มยางให้ได้อุณหภูมิที่พอเหมาะ ผิวที่ถลอกออกมาเป็นส่วนหนึ่งของยาง ผิวเนื้อยางที่ถลอกจะลดอายุของยางลงและทำให้การยึดเกาะพื้นผิวน้อยลง

ถ้าพื้นผิวยางมะตอยเสียดสีกับยางชนิดอ่อนจะทำให้เกิดรอยนี้เร็วขึ้น นี่คือเหตุผลว่าทำไมยางอ่อนจึงมีเหมาะสมกว่ากับสนามที่มีการลาดยางเรียบและราบรื่น ถ้าเกิดฝนตก ยางทั้งหลายที่ฝังตัวอยู่ตามยางมะตอยจะถูกชำระล้างออกไป ทำให้เกิดพื้นหยาบของสนาม เมื่อสนามไม่มีพื้นผิวหบายจะทำให้ยางอ่อนจึงเป็นริ้วถลอกได้ง่ายกว่า ทำให้ยางสึกเร็วกว่าและไม่เกาะพื้นสนาม

ยางแต่ละชนิดต่างกันอย่างไร
ยางแต่ละชนิดจะแตกต่างกันตรงที่ ถ้าเป็นยางแข็ง (Hard) จะมีการยึดเกาะพื้นผิวสนามได้น้อยกว่ายางอ่อน (Soft) ยิ่งแข็งมากยิ่งการยึดเกาะน้อย แต่ข้อดีคือยางทนทานและใช้ได้นานกว่ายางอ่อน (Soft)
ถ้าเป็นยางอ่อน (Soft) จะมีการยึดเกาะพื้นผิวได้ดีกว่ายางแข็ง ยางยิ่งอ่อน (Extra-Soft) ยิ่งเกาะพื้นสนามได้ดีกว่า ดังนั้นการเข้าโค้งจึงเกาะได้ดีกว่า แต่ข้อเสียคือยางไม่ทนทานและใช้งานได้ไม่นานนักก็จะสึกเร็ว

ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกยางมีดังนี้
- ความหยาบของยางมะตอยบนแทร็กของสนามนั้นๆ
- จำนวนของโค้งซ้ายและโค้งขวาของแต่ละสนาม ซึ่งจะมีผลกับความสึกหรอของยาง แต่ละสนามจำนวนโค้งไม่เท่ากัน
- อุณหภูมิของแทร็กที่สนามนั้นๆ
- จำนวนโค้งที่ทำความเร็วได้มากของสนามนั้นๆ
- จำนวนโค้งที่ทำความเร็วได้น้อยของสนามนั้นๆ
- ความชื้นของแทร็กที่สนามนั้นๆ
- สภาพภูมิอากาศที่สนามนั้นๆ

นักแข่ง MotoGP เลือกยางกันอย่างไร
ยกตัวอย่าง Rossi ถ้าหากสนามนั้นเป็นสนามเฉพาะที่เขาต้องใช้เบรคหน้าอย่างหนัก เขาจะลองใช้ยางหน้าแบบแข็ง (Hard front tyre) และยางหลังแบบปานกลาง (Medium rear tyre) และจะลองเซ็ทรถให้เข้ากับบางที่ใช้ เขาจะลองปรับแต่งรถในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ได้ผลออกมาดีที่สุด

โดยการเลือกยางของนักแข่งแต่ละคนก็จะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสไตล์การขับขี่ของแต่ละคน ยกตัวอย่างที่สนามเดียวกัน Lorenzo จะใช้ยางหน้าแบบแข็งปานกลาง (Medium front tyre) และยางหลังแบบแข็งปานกลาง (Medium rear tyre) และลองปรับแต่งรถให้เข้ากับยางทั้งคู่นี้

โดยปกติแล้วนักแข่งจะเลือกยางตามลักษณะการขับขี่ของเขาในแต่ละสนาม และเพื่อที่จะปรับปรุงผลลัพธ์ให้ออกมาดีขึ้น นักแข่งจะพยายามปรับการขับขี่ให้เข้ากับยางนั้นๆ ในแต่ละปี
ในปี 2014 Rossi ได้ปรับสไตล์การขับขี่จากปี 2013 เพื่อให้เข้ากับยางที่ใช้ในปีนั้น
และอีกตัวอย่างที่ดีของการปรับสไตล์การขับขี่ให้เข้ากับยางก็คือ มาเกส (Marc Marquez) ซึ่งเขาได้ทุ่มเทให้กับการใช้ยางและเขาก็ได้ใช้มันอย่างสมบูรณ์แบบ

Credit: http://www.motogp.com/



©2024 motobigbike.com, All rights reserved